วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติหลวงปู่แหวน


ประวัติหลวงปู่แหวน

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เกิดในตระกูลของช่างตีเหล็ก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2430 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ณ บ้านนาโป่ง ตำบลหนองใน อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยเป็นบุตรของนายใสกับนางแก้ว รามสิริ โดยมีน้องสาวร่วมบิดา- มารดาอีกหนึ่งคนคือ นางเบ็ง ราชอักษร และบิดามารดาของท่านได้ ตั้งชื่อว่า ญาณซึ่งแปลว่า ปรีชา กำหนดรู้
พอท่านมีอายุ ได้ประมาณ 5 ขวบเศษ โยมมารดาของท่านก็ล้มป่วย แม้จะได้รับการดูแลเยียวยารักษาเป็นอย่างดีจากสามี แต่อาการของท่านก็มีแต่ทรงกับทรุด ในที่สุดเมื่อท่านรู้ตัวว่า คงจะไม่รอดชีวิตไปได้แน่แล้วท่านจึงได้เรียกหลวงปู่แหวน เข้าไปใกล้ แล้วกล่าวความฝากฝังเอาไว้ว่า ลูกเอํย...แม่ยินดีต่อลูก สมบัติใด ๆ ในโลกนี้ล้วน กี่โกฎก็ตามแม่ไม่ยินดี แม่จะยินดีมากถ้าลูกจะบวชให้แม่ เมื่อลูกบวชแล้วก็ให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมา มีลูกมีเมียนะ... หลวงปู่แหวนพยักหน้า รับคำเท่านั้น ดวงวิญญาณของท่านก็ออกจากร่างไป มาอีกไม่นาน ดึกสงัดของค่ำคืนวันหนึ่งขณะที่คุณยายของหลวงปู่แหวนกำลังนอนหลับสนิทก็เกิดฝันประหลาด อันเป็นมงคลนิมิตหมายที่ดีงาม ท่านจึงได้นำเอาความฝันมาเล่าสู่ลูกหลานและหลวงปู่แหวนฟัง ในวันรุ่งขึ้นว่า เมื่อคืนนี้ ยายนอนหลับและได้ฝันประหลาดมาก ฝันว่าเจ้าไปนอนอยู่ในดงขมิ้น จนกระทั่งเนื้อตัวของเจ้าเหลือง อร่ามไปหมด ดูแล้วน่ารักน่าเอ็นดูยิ่งนัก ยายเห็นว่า เจ้านี้จะมีอุปนิสัยวาสนาในทางบวช ฉะนั้นยายขอให้เจ้าบวชตลอดชีวิต และขอให้ตายกับผ้าเหลือง ไม่ต้องสึกออกมามีลูกมีเมียเจ้าจะทำได้ไหม

บรรพชา


จากนั้น วันเวลาผ่านมาจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2439 ท่านมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเอาใจใส่มาอย่างทะนุถนอม ได้เรียกท่านพร้อมกับ หลานชายอีกคนหนึ่ง ที่เป็นญาติสนิทรุ่นราวคราวเดียวกัน เข้าไปหาแล้วพูดว่า ยายจะให้เจ้าทั้งสองบวชเป็น สามเณร เมื่อบวชแล้วไมต้องสึก เจ้าจะบวชได้ไหม ท่านหันมามองหลวงปู่แหวนอย่างตั้งใจฟังคำตอบ หลวงปู่แหวนก็พยักหน้ารับ พอใกล้เข้าพรรษา คุณยายของท่านจึงได้ตระเตรียมเครี่องบริขาร จนครบเรียบร้อยแล้ว จึงได้พาเด็กชายทั้งสองเข้าถวายตัวต่อพระอุปัชฌาย์ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เข้าพรรษาเป็นสามเณร ณ วัดโพธิ์ชัย พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นเด็กชาย ญาณ เป็นสามเณร แหวนนับแต่นั้นมา
ตลอดพรรษาที่ได้บรรพชา เป็นสามเณรนั้น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ได้แต่ทำวัตร สวดมนต์ต์บ้างตามโอกาส เท่าที่พระภิกษุและ สามเณร ภายในวัดจะร่วมกันทำสังฆกรรม นอกจากนั้นก็จะใช้เวลา ไปในทางเล่นซุกซนตามประสาเด็ก ในที่สุดพระอาจารย์อ้วน ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของท่าน มองเห็นว่าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ จะทำให้สามเณรน้อยไม่มีความรู้ จึงพาไปฝากฝังถวาย เป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม (ที่จริงน่าจะเป็นพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลมากกว่า เพราะหลวงปู่แหวนเกิด 16 มกราคม 2430 ส่วนพระอาจารย์สิงห์เกิด 27 มกราคม 2432 พระอาจารย์สิงห์อ่อนกว่าหลวงปู่แหวน 2 ปี ) ณ วัดบ้านสร้างถ่อ อำเภอกษมสีมา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นที่น่าอัศจรรย์ ขณะที่พระอาจารย์อ้วนกำลังพาสามเณรน้อย เดินฝ่าเปลวแดดสีทองมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณวัดในยามบ่ายนั้น พระอาจารย์สิงห์ขนัง ศิษย์สำคัญสูงสุดของพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานคือ พระมั่น ภูริทัตโต กำลังมองที่ร่างสามเณรน้อย พลันก็บังเกิดฤทธิ์อำนาจ แห่งอภิญญาณทำให้ท่านเห็นรัศมีเป็นแสงสว่างโอภาส เปล่งประกายออกมาจากร่างของสามเณรน้อยผู้นี้ เป็นผู้ที่มีบุญญาธิการมาเกิด ดั้งนั้นพระอาจารย์สิงห์ จึงได้ถ่ายทอดความรู้ตลอดจนข้อวัตรปฏิบัติทั้งหมดให้

การออกจาริกแสวงบุญ

  • ปี พ.ศ. 2464 ได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาธรรมกับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)
  • ปี พ.ศ. 2478 ได้เข้าพบ ท่านเจ้า คุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ ในครั้งนี้ได้เปลี่ยนจากมหานิกายเป็น ธรรมยุติ และได้รับฉายาว่า สุจิณโณ จากนั้นได้ออกจาริกแสวงบุญต่อ ขณะที่ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์มั่นฯ ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ จังหวัดอุบลราชธานี มีศิษย์พระอาจารย์มั่นฯ ที่มีอัธยาศัย ที่ตรงกัน 2 ท่านคือ พระขาว อนาลโย และ พระตื้อ อจลธัมโม เช่นเดียวกับคราวที่ จากท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ ก็ได้ พระขาว จาริกแสวงธรรมเป็นเพื่อนจนถึงเมืองหลวงพระบาง
  • ปีพ.ศ. 2489 หลวงปู่แหวนจำพรรษาที่วัดป่าบ้านปง อ.แม่แตง ในพรรษานั้นท่านอาพาธเป็นแผลที่ขาอักเสบต้องผ่าตัด โดยมีพระหนู สุจิตโต ซึ่งเดินทางมาจากดอยแม่ปั๋งพยายามอยู่ใกล้ๆ เมื่อครบ 7 วัน ต้องกลับไปดอยแม่ปั๋ง เพราะอยู่ระหว่างพรรษา จนกระทั่งเดือนเมษายนในปีต่อมา อาการอาพาธจึงดีขึ้นแต่ก็ยังไม่หายสนิทยังเดินไปไหนไกลๆ ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพระหนูได้พยายามอยู่ใกล้ๆ เพื่อดูแลหลวงปู่แหวน ต่อมาพระหนูได้ดำริว่า ปัจจุบันหลวงปู่แหวนมีอายุมากแล้ว ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ด้วย เพื่อเป็นอุปัฏฐาก ถ้านิมนต์มาอยู่ที่ดอยแม่ปั๋งก็จะได้ถวายการดูแลได้โดยง่ายไม่ต้องไปๆ มาๆ อยู่อย่างนี้ แต่ก็ต้องเป็นเพียงความคิดของพระหนูเท่านั้น เพราะในเวลาดังกล่าว ดอยแม่ปั๋งยังไม่มีอะไรพร้อมแม้แต่กุฏิก็ยังไม่มี
  • ปีพ.ศ. 2505 ขณะที่หลวงปู่แหวนมีอายุ 75 ปี คืนวันหนึ่งพระหนูนั่งภาวนาอยู่เกิดเป็นเสียงหลวงปู่แหวนดังขึ้นมาที่หูว่า จะมาอยู่ด้วยคนนะ หลังจากวันที่ได้ยินเสียงหลวงปู่แหวนอีกสามวัน พระอาจารย์หนูได้ถูกนิมนต์ไปที่วัดบ้านปงสถานที่ที่หลวงปู่แหวนอยู่ และถือโอกาสนิมนต์หลวงปู่แหวนมาที่วัดดอยแม่ปั๋งด้วย
เมื่อหลวงปู่แหวนได้มาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งแล้ว ครั้งแรกท่านพักอยู่ที่กุฏิหลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่ที่วัดดอยแม่ปั๋งนี้ ท่านได้มีข้อตกลงกับพระอาจารย์หนูว่า หน้าที่ต่างๆ และกิจทุกอย่างที่มีขึ้นในวัด ให้ตกเป็นภาระของพระอาจารย์หนูแต่เพียงผู้เดียว ส่วนท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรมจะไม่มีภาระใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนั้นหลวงปู่แหวนจะไม่รับนิมนต์โดยเด็ดขาด แม้ที่สุดถึงจะเกิดอาพาธหนักเพียงใดก็ตาม ท่านไม่ยอมนอนรักษาที่โรงพยาบาล ถึงธาตุขันธ์จะทรงอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จะให้สิ้นไปในป่าอันเป็นที่อยู่ ตามอริยโคตรอริยวงศ์ ซึ่งบูรพาจารย์ท่านเคยปฏิบัติมาแล้วในกาลก่อน
นับตั้งแต่หลวงปู่แหวนได้ขึ้นไปทางเหนือ ท่านไม่เคยไปจำพรรษาที่ภาคอื่นเลย เพราะอากาศทางภาคเหนือสัปปายะสำหรับท่าน หลวงปู่แหวนได้มรณภาพลงที่วัดดอยแม่ปั๋งแห่งนี้ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2528 สิริอายุ 98 ปี



หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้เล่าถึงการปลุกเสกพระ ที่ลูกศิษย์ลูกหาต่างถอดสร้อย และรวมพระเครื่องต่างๆ รอให้ ลป. ปลุกเสกให้ดังนี้ 
      "พอใครขนเอาเครื่องรางไปวางเสร็จ หลวงปู่แหวนก็ตั้งท่าสงบใจสงเคราะห์ อาตมาก็จับดูจิตของหลวงปุ่แหวน ดูอารมณ์จิตของท่านว่า จะทำยังไง ครั้นแล้ว ก็เห็นอารมณ์จิตของหลวงปู่แหวนผ่องใสเป็นดาวประกายพฤษ์เต็มดวง ลอยอยู่ในอกท่าน เวลานั้นกำลังจิตของหลวงปุ่แหวน ก็คิดว่า ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ให้มาโปรดช่วยทำของเหล่านี้ ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เป็นมิ่งขวัญมงคล ของบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้เข้าถึงพระธรรม
     โดยความจริง หลวงปุ่แหวน ไม่คิดว่าเสกให้เอาไปตีกับชาวบ้าน เอาไปปล้นชาวบ้าน ท่านเสกให้คนเข้าถึงธรรม
      ท่านนึกในใจต่อไป หลวงปู่แหวนก็อาราธนาบารมีของพระอรหันต์ทั้งหมด บารมีของพรหม ของเทวดาทั้งหมด ตลอดจนกระทั่งครูบาอาจารย์ พอถึงพะอรหันต์ อาตมาก็เห็นหลวงปู่ตื้อ ปรี๊ดมาถึงข้างหลัง เอากำปั้นลงหลังอาตมาปั๊ปเข้าให้
     แล้วถามว่า เฮ้ย ... มึงมานั่งอยู่ทำไมวะ
     อาตมาก็เลยบอกไปว่านี่ ... พระผี ไม่ต้องพูด
     (ลป.ตื้อ) หลวงปู่แหวน เชิญพระผีนะ ไม่ได้เชิญพระมีเนื้อหนังมังสา มีหน้าที่อะไรก็ำทำไป
      แล้วก็ได้เห็นกระแสจิตหลวงปู่แหวน เป็นประกายพฤกษ์ พุ่งออมาจากอกสว่างเจิดจ้า ใหญ่เหลือเกิน คลุมเครื่องรางของขลังทั้งหมด แสงสว่างประกายพฤกษ์ของจิตพระอรหันต์เจ้า แทรกลงไปในเครื่องรางของขลัง อยู่ผิวด้านหน้ายันข้างล่างสุด เรียกว่าคลุมหมดอาบลงไปหมด เลย โพลงสว่างสุกปลั่งไปหมด คล้ายตกอยู่ในเบ้าหลอม เป็นกระแสสว่างของจิตที่เยือกเย็น เต็มไปด้วยอำนาจพุทธบารมี เห็นแล้วรู้สึกเยือกเย็นสบายอย่างประหลาด บอกไม่ถูก
     นี่เป็นการปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังของหลวงปุ่แหวน ซึ่งใช้เวลาไม่ถึง ๓ นาที แต่ว่า อานุภาพยิ่งใหญ่ ทรงความขลังศักดิ์สิทธิ์ เลิศล้ำน่ามหัศจรรย์ 

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติ พระอาจารย์มั่น


 ประวัติย่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ณ วัดภูริทัตตถิรวาส

เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม วันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ที่บ้านคำบง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในสกุลแก่นท้าว เป็นตะกูลนักรบ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ ปู่เคยผ่านศึกทุ่งเชียงขวาง นายคำด้วงเป็นบิดา นางจันทร์เป็นมารดา นับถือพระพุทธศาสนาตลอดมา
บุคลิกลักษณะ ร่างเล็ก ผิวขาวแดง คล่องแคล่ว ว่องไว สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความประพฤติ อัธยาศัยเรียบร้อย ชอบศึกษาธรรมะ รักในเพศนักบวชประจำนิสัย
อุปสมบทอายุ ๒๒ ปี ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวีเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสีทาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณเป็นอนุศาสนาจารย์
ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๔)

เดินธุดงค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะแรก ๒๔ พรรษา บั้นปลายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๖ พรรษา ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ๕ พรรษา (๒๔๘๗-๒๔๙๒)
มรณะภาพ ๒๔๙๒ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร อายุ ๘๐

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำขวัญอำเภอกันทรวิชัย

อำเภอกันทรวิชัย

คำขวัญประจำอำเภอกันทรวิชัย 
          
กันทรเมืองพระ สระบัวคู่บ้าน 
การเกษตรฟูเฟื่อง พลเมืองอยู่เป็นสุข



หน่อยกันทรวิชัย

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองกันทรวิชัย6

ประวัติเมืองกันทรวิชัย                                           6


            เดิมทีที่ว่าการอำเภอกันทรวิชัย ได้ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบ้านคันธาร์ ฯ ตรงริมฝั่งหนองบัว ด้านทิศใต้ (ที่ตั้งโรงเรียนบ้านคันธาร์ ฯ ในปัจจุบัน) จนถึงปี พ.ศ. 2458 สมัยหลวงชาญรัฐกิจ (เชย) เป็นนายอำเภอ ได้รับเงินงบประมาณสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอ จากที่เดิมมาสร้างขึ้นที่บ้านโคกพระ บริเวณที่ดินฝั่งหนองบัว ด้านทิศเหนือ คือสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน
ถึงปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอกันทรวิชัย เป็นอำเภอ โคกพระ โดยอาศัยมงคลนามจากพระพุทธรูปยืน วัดบ้านโคกพระ (วัดสุวรรณาวาส) ชื่ออำเภอโคกพระนี้ เป็นที่รู้จักกันดี จนถึงปี พ.ศ. 2482 ทางราชการนิยมเปลี่ยนชื่อสถานที่ราชการ อำเภอโคกพระ จึงได้เปลี่ยนชื่อกลับมาใช้ กันทรวิชัย อย่างเดิมจนถึงทุกวันนี้

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองกันทรวิชัย5

ประวัติเมืองกันทรวิชัย                                            5


            จุลศักราช 1251 (ร.ศ. 108) ตรงกับปีฉลู พ.ศ. 2432 เดือน มีนาคม ผู้รักษาการเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ (ราชวงษ์เชียงโต) และกรมการเมืองกาฬสินธุ์ มีใบบอกขอท้าวทองคำเป็น พระปทุมวิเศษ ผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย ขอราชวงษ์หลวงศรีสงคราม เป็นอุปฮาต ขอท้าวแฮดเป็นราชวงษ์ ขอท้าวสีทะเป็นราชบุตร เมืองกันทะวิชัย ท้าวทองคำได้นำใบบอกไปเฝ้าทูลละออง ธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตร ให้ท้าวทองคำเป็น (พระปทุมพิเศษ) ผู้ว่าราชการเมืองกันทะวิชัย ส่วนตำแหน่งอุปฮาต ราชวงษ์ ราชบุตร นั้น ก็ได้มีตราตั้งตราพระราชสีห์ ให้ตามที่เมืองกาฬสินธุ์ขอไป เป็นอันว่าพระปทุมวิเศษ (ทองคำ) ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการเมืองกันทะวิชัย เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2443 เมืองกันทะวิชัยถูกยุบลง เป็นอำเภอ ชื่อว่า อำเภอกันทรวิชัย ต่อมาปี พ.ศ. 2456 ได้โอนอำเภอกันทรวิชัย มาขึ้นกับจังหวัดมหาสารคาม จนถึงปัจจุบัน 



อ่านต่อหน้าถัดไป

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองกันทรวิชัย4

ประวัติเมืองกันทรวิชัย                                            4


              อยู่ต่อมาจึงยกฐานะเป็นเมือง ดังกล่าวแล้ว ในสมัยพระยาไชยสุนทร (เลื่อน) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ ครั้นถึงจุลศักราช 1245 (ปี พ.ศ. 2426) พระสุวรรณภักดี (คำดวน) เจ้าเมืองท่าขอนยางไม่พอใจจะทำราชการขึ้นกับเมืองกาฬสินธุ์ จึงขออพยพครอบครัวจากเมืองท่าขอนยาง ไปทำราชการขึ้นกับเมืองท่าอุเทน ส่วนเมืองท่าขอนยางมีแต่อุปฮาด ราชวงษ์ และกรรมการรักษาบ้านเมืองเท่านั้น
ส่วนเหตุการณ์เกี่ยวกับเมืองกันทรวิชัย นับตั้งแต่ได้ตั้งเป็นเมือง มาเป็นเวลา 8 ปี คือ จุลศักราช 1244 (ปี พ.ศ. 2425) พระปทุมวิเศษ คำมูล ได้เกิดคดีความกับเพี้ยเมืองกลาง (เมืองมหาสารคาม) จึงมีพระบรมราชโองการ ฯ ให้พระปทุมวิเศษ (คำมูล) เจ้าเมืองพระราชวงษ์เมืองทอ เมืองกันทรวิชัย กับเพี้ยเมืองกลาง (เมืองมหาสารคาม) ลงไปชำระความที่กรุงเทพ ฯ แต่ความยังไม่สำเร็จคนทั้งสองก็ถึงแก่กรรมเสียก่อนที่กรุงเทพ ฯ เมืองกันทะวิชัยคงมีแต่เพี้ยเวียงแก ผู้รับตำแหน่งอุปฮาด กับราชบุตร (ไชยสุริยา) อยู่รักษาบ้านเมือง แต่เพี้ยเวียงแก กับราชบุตร (ไชยสุริยา) เห็นว่าตนเป็นคนชรา จึงพร้อมด้วยกรมการเมือง บอกขอท้าวทองคำ (หลานพระขัติยวงษาจันทร์) เมืองร้อยเอ็ดมารับราชการตำแหน่งเจ้าเมือง และขอหลวงศรีสงคราม ว่าที่ราชวงษ์ ท้าวสีทะ ว่าที่หลวงภักดีผู้ช่วย มีตราโปรดเกล้า ฯ อนุญาตให้บุคคลทั้งสาม รับราชการตามหน้าที่ขอไป รับราชการบ้านเมืองสืบไป 



อ่านต่อหน้าถัดไป

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองกันทรวิชัย3

ประวัติเมืองกันทรวิชัย                                          3


         ตามประวัติมหาดไทยเขียนไว้ว่า พระปทุมวิเศษ (ทองคำ) เป็นเจ้าเมืองคนแรกนั้น หาได้ตรงตามหลักฐานที่ปรากฏ ในพงศาวดารไม่ แต่เป็นพระปทุมวิเศษคนต่อมา พระปทุมวิเศษคำมูล เป็นหลานของพระยาขัติยวงษ์ (สีสัง) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด เป็นน้องเขยของพระเจริญราชเดช (ฮึง) เจ้าเมืองมหาสารคามคนที่สอง เวลานั้นเขตท้องที่ของเมืองกันทรวิชัย จะมีอาณาเขตเท่าใดไม่ปรากฏ คงถือเอาตามถิ่นที่อยู่ของพลเมือง (จำนวนของพลเมือง) ที่ขอแต่งตั้งเป็นเมือง เพราะปรากฏว่าบ้านท่าขอนยางนั้นก็เป็นอีกเมืองหนึ่งต่างหาก ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกันทรวิชัยไปทางทิศใต้เพียง 11 กม. เท่านั้น เป็นเมืองที่ขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ เมืองท่าขอนยางตั้งขึ้นมาก่อน เมืองกันทรวิชัย ประมาณ 29 ปี ดังปรากฏในพงศาวดารว่า
จุลศักราช 1207 (พ.ศ. 2388) โปรดเกล้า ฯ ตั้งให้พระคำดวน (ฤคำกอน) เมืองคำเกิดซึ่งอยู่บ้านท่าขอนยาง เป็น (พระสุวรรณภักดี) เจ้าเมือง ให้อุปฮาตเมืองคำเกิดเป็น อุปราช ราชวงษ์เมืองคำเกิดเป็นราชวงษ์ ราชบุตรเมืองคำเกิดเป็นราชบุตร ยกบ้านท่าขอนยางเป็นเมืองท่าขอนยาง ผูกส่วยผลเร่วสีสอบหาบคิดหาบละ 5 ตำลึง รวมเป็นเงินส่งแทนผลเร่วปีละ 10 ชั่ง และพระราชทานพระสุพรรณภักดี (คำดวน ฤ คำกอน) เงินตราชั่ง 5 ตำลึง ถาดหมาก คณโฑเงิน 1 สัปทน แพรคัน 1 เสื้อเข็มขาบก้านแหย่ง 1 ผ้าโพกแพรขลิบ 1 ผ้าปักทองมีซับ 1 แพรขาวห่ม 1 ผ้าปูม 1
พระราชทานอุปฮาดราชวงษ์ ราชบุตร เมืองท่าขอนยางอย่างเดียวกับเมืองภูแล่นช้าง (ยางตลาด) พระคำดวนผู้นี้เคยเป็นเจ้าเมืองคำเกิด แขวงเมืองนครพนม พาครอบครัวและกรมการเมือง อพยพหนีภัยจากเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ ซึ่งยกกองทัพมาตีหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคอีสาน แล้วกวาดต้อนเข้าเป็นไพร่พล สมทบยกกำลังมาตีกรุงเทพ ฯ ครั้นจุลศักราช 1198 ปีวอก อัฐศก (พ.ศ. 2396) พระมหาอำมาตย์ (ป้อม) และพระมหาสงครามซึ่งได้รับพระราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้เกณฑ์กำลังพลเมืองฝ่ายเหนือเฉียงตะวันออก ได้จัดการให้ครบครัวของพระลำดวน ซึ่งมีจำนวนคน 1,875 คน ตั้งอยู่บ้านท่าขอนยาง พร้อมกับพระยาคำแดง ซึ่งเป็นอุปฮาดเมืองคำดวน พร้อมด้วยกรมการเมือง และไพร่พลจำนวน 933 คน ตั้งอยู่ตำบลแซงกระดาน แขวงเมืองกาฬสินธุ์ ทั้ง 2 ตำบล 


อ่านต่อหน้าถัดไป

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองกันทรวิชัย2

ประวัติเมืองกันทรวิชัย                                        2



                เมืองคันธะวิชัย หรือเมืองกันทะวิชัย มีฐานะเป็นเมืองมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองขึ้นตรงต่อเมืองกาฬสินธุ์ จะขอคัดตัดตอนจากพงศาวดาร อีสานภาค 4 ของหม่อมอมรวงษ์วิจิต (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) มาให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาดังนี้
ครั้งจุลศักราช 1236 ปีจอ (พ.ศ. 2417) ฝ่ายเมืองกาฬสินธุ์ พระยาไชยสุนทร เจ้าเมืองมีใบบอกขอตั้งเมืองกันทางร้าง เป็นเมืองท้าวคำมูล คนเมืองมหาสารคามซึ่งอพยพ ท้าวเพี้ย จำนวนตัวเลขที่สมัครรวม 2,700 คนเศษ มาตั้งอยู่เป็นเจ้าเมือง และตั้งเพี้ยเวียงแก เพี้ยเวียงทอ เพี้ยไชยสุริยา และเพี้ยนามวิเศษ รับตำแหน่งอุปฮาด ราชวงษา ราชบุตร ผู้ช่วยเต็มอัตรา จึงขอทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งบ้านคันทางร้าง เป็นเมือง กันทะวิชัย ตั้งให้เพี้ยคำมูลเป็น พระปทุมวิเศษ เจ้าเมือง ให้เพี้ยเวียงทอ เป็นราชวงษ์ เพี้ยไชยสุริยาเป็นราชบุตร ให้เพี้ยนามวิเศษเป็นที่หลวงจำนงภักดี ผู้ช่วยทำราชการขึ้นต่อเมืองกาฬสินธุ์ แต่เพี้ยเมืองแกไม่ได้ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพ ฯ จึงหาได้มีราชสีห์ตั้งไม่ เป็นแต่ได้รับตำแหน่งอุปฮาต ตามใบบอกของพระยาไชยสุนทร เท่านั้น
ในปีนี้ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระยามหาอำมาตย์ (ชื่น) เป็นข้าหลวงไปจัดรักษาการอยู่ ณ เมืองอุบล เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีนี้เวลาบ่ายโมงเศษได้มีสุริยปราคา จับมืดอยู่ครู่หนึ่ง ก็แจ้งสว่างตามความในพงศาวดาร ปรากฏเพียงเท่านี้ 


    อ่านต่อหน้าถัดไป

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติเมืองกันทรวิชัย


ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณ                                  1

อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม แต่เดิมเป็นเมืองเก่าแก่มาแต่โบราณ โดยมีเจ้าเมืองปกครองเป็นอิสระเรียกว่า  เมืองคันธาธิราช หรือเมืองคันธะวิชัย ตามพงศาวดาร หัวเมืองมณฑลอีสาน ซึ่งหม่อมอมรวงษ์วิจิต (ม.ร.ว.ปฐม คเนจร) เรียบเรียงขึ้นเมื่อดำรงตำแหน่งปลัดมณฑลอีสาน ตามพงศาวดารดังกล่าว ได้กล่าวไว้ว่า เมืองคันธาธิราชตั้งขึ้นเมื่อปีมะเส็ง จุลศักราช 147 (ปี พ.ศ. 1328) เมืองนี้ตั้งอยู่นานเป็นพันปี มีเจ้าผู้ปกครองเมืองผัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาหลายยุคหลายสมัย จนถึงสมัยท้าวลินจง เป็นผู้ครองเมือง ในตอนหลังได้เกิดเรื่องราวที่โศกเศร้าและสยดสยองมาก คือ ท้าวลินจงได้ถูกท้าวลินทองผู้เป็นบุตรชาย ที่มีจิตใจเหี้ยมโหดทารุณ หาอุบายจับบิดาขังไว้ทรมาน จนบิดาถึงแก่ความตาย สืบเนื่องมาจากเหตุผลที่ว่าเมื่อบิดาตายแล้วตนจะไม่ได้ปกครองบ้านเมืองแทน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองคันธาธิราช ก็ถึงกาลอวสาน กลายเป็นเมืองร้างมาอีกช้านาน นับแต่สร้างเมืองมาจนถึงเมืองร้าง เป็นระยะเวลา 1,089 ปี สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 จึงทรงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า เมืองคันธาวิชัย หรือ เมืองกันทะวิชัย


อ่านต่อหน้าถัดไป