วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พระกริ่งหลวงปู่คำบุ รุ่นศรีสุทโธ


พระกริ่งหลวงปู่คำบุ รุ่นศรีสุทโธ


พระกริ่งหลวงปู่คำบุ รุ่นศรีสุทโธ ยกชุดเลยครับ 4,000
รับประกันแท้ตลอดชีพ โทร 081-0596292(หน่อย กันทรวิชัย)

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พระกรุกันทรวิชัย




พระกรุกันทรวิชัย กรุโนนเมือง กรุนิยม พิมพ์กลาง 




พระกรุสมัยทวาราวดี พิมพ์กลาง กรุโนนเมือง กรุนิยม กรุกันทรวิชัย
ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม





วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติหลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ



ประวัติพระสุนทรธรรมากร
(หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) วัดธาตุมหาชัย นครพนม

ประวัติ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ
วัดธาตุมหาชัย
ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

(หลวงปู่สอนธรรม)
๏ สถานะเดิม

พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดธาตุมหาชัย บ้านมหาชัย ต.มหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม เทพเจ้าลุ่มน้ำโขงผู้เรืองธรรม มีปฐวีกสิณเป็นเอก เล่นแร่แปรธาตุจนดังสนั่น ชื่อเสียงเลื่องลือ ๒ คาบฝั่งโขง เป็นสมัญญานามที่ผู้คนต่างรู้จักดี

ท่านมีนามเดิมว่า คำพันธ์ ศรีสุวงค์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๒ ปีเถาะ ณ บ้านหมู่ที่ ๔ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม โยมบิดาชื่อ นาย เคน ศรีสุวงค์ โยมมารดาชื่อ นางล้อม ศรีสุวงค์ เป็นบุตรคนโต มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน ๒ คน คือ
( ๑) พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร ( คำพันธ์ ศรีสุวงค์)
( ๒) นาย พวง ศรีสุวงค์


วัยเด็กเป็นคนขยันขันแข็ง ช่วยโยมบิดา-มารดาทำนา อุปนิสัยเป็นคนเรียบง่าย เรียบร้อย พูดน้อย จบการศึกษาภาคบังคับ ป. ๔ จากโรงเรียนบ้านโพนคู่ ต.พุ่มแก อ.นาแก จ.นครพนม

๏ การบรรพชาและอุปสมบท 

วันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๕ (อายุ ๑๗ ปี) ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดศรีบุญเรือง บ้านหนองหอย ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม โดยมีพระอาจารย์เชื่อม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว ก็ได้ศึกษาอักษรธรรม และหนังสือสูตรคามแบบโบราณ ในขณะเดียวกันก็ได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฎฐานควบคู่ไปด้วย

หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรได้ ๓ พรรษา ก็ออกเดินธุดงค์ทรงกรดไปที่จังหวัดเลย พร้อมกับพระภิกษุ ๒ รูป คือ พระภิกษุบุญ และพระภิกษุวัน ก่อนหน้าที่จะได้ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้น เคยได้รับความรู้เรื่องกัมมัฏฐานมาจาก ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งท่านไปอบรมสั่งสอนประชาชนที่วัดโพนเมือง จ.อุบลราชธานี

ท่านพระอาจารย์เสาร์ ให้แนวทางในการปฏิบัติกรรมฐานไว้ว่า ให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออกและได้ให้ข้อคิดต่อไปอีกว่า ร่างกายของคนเรานั้นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มันทำงานอยู่ตลอดเวลา ลมหายใจเข้า-ออกนั้น มีความสำคัญมาก ถ้าลมไม่ทำงานคนเราจะตายทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ

นอกจากนั้นท่านพระอาจารย์เสาร์ยังได้ย้ำอีกว่า ให้คนเราตีกลองคือขันธ์ ๕ ให้แตกซึ่งก็หมายความว่า ท่านให้ทำความเข้าใจขันธ์ ๕ ให้จงดี ให้เข้าใจตามสภาพที่เป็นจริง

หลวงปู่ได้ศึกษาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์เสาร์ประมาณ ๑ ปี และได้ยึดแนวทางของท่านเป็นแนวทางในการปฏิบัติเรื่อยมา นับแต่นั้นต่อมาก็ได้ไปศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกับ อาจารย์ครุฑ ซึ่งเป็นพระขาว (ปะขาว) และได้รับความรู้ในเรื่องการปฏิบัติธรรมจากท่านอาจารย์ครุฑนี้เพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นหลวงปู่คำพันธ์ก็ได้นำเอาแนวทางการปฏิบัติของอาจารย์ทั้ง ๒ มาเป็นแนวทางปฏิบัติกัมมัฎฐาน

หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดเลย เป็นเวลา ๑ พรรษา หลังจากนั้นได้เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดเชียงราย ประมาณ ๓-๔ เดือน ต่อมาได้รับข่าวโยมบิดาได้เสียชีวิตลง หลวงปู่จึงได้เดินทางกลับมาทำบุญงานศพบิดาและมาอยู่จำพรรษาที่บ้านเดิม คืออำเภอนาแก

พ.ศ. ๒๔๗๘ อายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และเริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม

พ.ศ. ๒๔๘๒ อายุ ๒๔ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรม เวลานั้นเหลือน้องผู้หญิง ๒ คน ซึ่งยังเล็กมาก จึงได้ลาสิกขาบทออกไปเลี้ยงดูน้อง

วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๓๐ ปี ได้กลับเข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกครั้ง ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ชัย บ้านพุ่มแก ต.พุ่มแก อ.นาแก จ.นครพนม ได้รับนามฉายาว่า โฆสปัญโญ” ซึ่งแปลว่า ผู้มีปัญญาระบือไกล และได้ออกไปจำพรรษาที่วัดป่าเป็นเวลา ๓ พรรษา

ต่อมาก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานพร้อมเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมด้วย ที่วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม

หลังจากนั้นได้เดินธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ในเขตจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย และข้ามไปฝั่งลาวประมาณ ๓-๔ เดือน แต่ไม่ได้จำพรรษา แต่กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านเดิม อยู่ประมาณ ๓ ปี และญาติโยมชาวบ้านก็นิมนต์ท่านให้เข้ามาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้าน เพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านบ้าง หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ก็ออกเดินธุดงค์ต่อ จนอายุถึง ๔๐ ปี จึงหยุดเดินธุดงค์ แต่ก็พยายามศึกษาปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐานมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้นำญาติโยมประมาณ ๕ ครอบครัว จากบ้านหนองหอยใหญ่ ต.นาแก อ.นาแก มาสร้างบ้านและวัดใหม่ที่โนนมหาชัย ให้ชื่อบ้านว่า บ้านมหาชัย ในปัจจุบันนี้ และได้สร้างวัดใหม่ คือ วัดธาตุมหาชัย ( เดิมชื่อ วัดโฆษการาม) จนเจริญรุ่งเรืองตราบถึงปัจจุบั
๏ การศึกษา 

พ.ศ. ๒๔๗๒ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนบ้านโพนดู่ บ้านโพนดู่ ต.พุ่มแก อ.นาแก จ.นครพนม

พ.ศ. ๒๔๗๙ อายุ ๒๒ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม

พ.ศ. ๒๔๘๘ อายุ ๓๐ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นโท สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม

พ.ศ. ๒๔๘๙ อายุ ๓๑ ปี สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม วัดพระพุทธบาทจอมทอง บ้านหนองหอยใหญ่ อ.นาแก จ.นครพนม

๏ การศึกษาพิเศษ

- ได้ศึกษาอักษรธรรม อักษรขอม อักษรไทยน้อย อ่านเขียนได้คล่องแคล่ว และมีความชำนาญมาก

- ทรงจำพระปาฏิโมกข์ได้แม่นยำ เป็นพระผู้สวดพระปาฏิโมกข์ในวันทำสังฆกรรมอุโบสถ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เรื่อยมา

๏ ความชำนาญการ

- มีความชำนาญการแสดงพระธรรมเทศนาโวหาร บรรยายธรรม เทศนาธรรม และเทศนาธรรมแบบปุจฉาวัสัชนา ๒ ธรรมาสน์ จนมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วเขตอีสานเหนือ ยากที่จะหาพระธรรมกถึกรูปอื่นเสมอเหมือนในสมัยนั้น

- มีความชำนาญการเทศนาธรรม ทำนองแหล่ภาษาอีสาน มีความสามารถในการประพันธ์กลอนแหล่ทำนองอีสานได้ เช่น กลอนอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง, พระเวสสันดรทรงพบพระประยูรญาติ, พระเวสสันดรลาป่า, นางมัทรีเดินป่า เป็นต้น

- เป็นพระวิปัสสนาจารย์ใหญ่ สายพระอาจารย์ เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร ให้การอบรมวิปัสสนากรรมฐานประจำที่วัดป่ามหาชัย

      วัดป่ามหาชัย 
เป็นวัดที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ ใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมประชาชน เมื่อปี ๒๕๒๙ เป็นต้นมา และได้พระภิกษุจากอาวาสต่างในจังหวัดนครพนม  สนใจแนวทางการปฏิบัติกรรมฐาน เข้ามาเรียนรู้และลองปฏิบัติ เกิดความเข้าใจในหลักพระกรรมฐาน ได้นำไปเผยแผ่ในเขตอาวาสของตน การปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ได้แพร่หลายในจังหวัดนครพนม จนถึงปัจจุบัน และยังได้นำพาศิษยานุศิษย์ จัดปฏิบัติธรรมกรรฐานในสถานที่ต่างๆ

       วัดป่ามหาชัย จึงเป็นวัดต้นแบบของการฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในเขตจังหวัดนครพนม 
(ประวัติวัดป่ามหาชัย)

- มีความชำนาญการด้านนวัตกรรม การออกแบบก่อสร้างเสนาสนะ ทั้งงานไม้ งานปูน โดยเป็นผู้นำในการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และพระธาตุมหาชัย (การก่อสร้างครั้งแรกๆ ทำเองทั้งหมด เพราะสมัยนั้นไม่มีช่างผู้ชำนาญการ และเงินงบประมาณมีไม่เพียงพอ)
๏ ลักษณะนิสัยทั่วไป 

พระเดชพระคุณหลวงปู่เป็นพระมหาเถระ ที่มีอัธยาศัยใจคอกว้างขวาง เยือกเย็น มีความเมตตา กรุณาต่อศิษยานุศิษย์ ตลอดถึงญาติโยมทุกคนที่เข้าหาท่าน ใครก็ตามที่มีปัญหา หรือมีความทุกข์เข้าหาท่าน จะได้รับการต้อนรับจากท่านอย่างดียิ่ง เสมอกันหมด ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม ต่อครูบาอาจารย์และพระเถระที่อาวุโสกว่า หลวงปู่จะแสดงอาการอ่อนน้อมถ่อมตนเสมอ โดยไม่เคยจะแสดงอาการแข็งกระด้างใดๆ เลย ด้วยเหตุนี้หลวงปู่จึงเป็นที่เคารพนับถือของศิษยานุศิษย์และญาติโยมโดยทั่วไปเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้แล้ว หลวงปู่ก็ยังเป็นพระเถระที่มีความตั้งใจมั่นคงหนักแน่นอีกด้วย จะเห็นได้จากการที่ท่านตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้ว จะต้องทำสิ่งนั้นให้สำเร็จให้จงได้ คงเป็นเพราะความตั้งใจจริงและความตั้งใจมั่นคงนี้เอง ที่ทำให้หลวงปู่ทำสิ่งใดก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี และรวดเร็วเกินความคาดหมายทุกประการ

ตัวอย่างเช่น พระธาตุมหาชัย, อุโบสถวัดธาตุมหาชัย, กำแพงล้อมรอบวัดธาตุมหาชัย และกุฏิสงฆ์หลังใหม่ ๒ หลัง ซึ่งสิ่งก่อสร้างแต่ละอย่างล้วนแต่ใช้ค่าก่อสร้างจำนวนมากทั้งสิ้น เมื่อคณะศรัทธาญาติโยมที่มีความเคารพนับถือในตัวหลวงปู่ได้ทราบ ต่างก็มีจิตศรัทธาช่วยกันสละกำลังทรัพย์มาช่วยในรูปของกฐินบ้าง ผ้าป่าบ้าง จนงานก่อสร้างดังกล่าวสำเร็จรวดเร็วเกินคาด

อีกประการหนึ่ง โดยอุปนิสัยแล้ว หลวงปู่ท่านถือการปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นประจำนับตั้งแต่อุปสมบทพรรษาแรก จนกระทั่งมรณภาพ

๏ การมรณภาพ 

พระเดชพระคุณพระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ) ได้ละสังขารอย่างสงบในกุฏิจำพรรษา ด้วยโรคชราภาพ ประกอบกับมีโรคประจำตัวหลายอย่างแทรกซ้อน หลังจากอาพาธมานานหลายปี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เวลาประมาณ ๐๑.๕๙ น. ณ วัดธาตุมหาชัย สิริรวมอายุได้ ๘๙ พรรษา ๕๙ สร้างความสลดโศกเศร้าให้แก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่ใกล้ชิด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่เป็นอย่างยิ่ง วันนี้...หลวงปู่คำพันธ์ พันธุ์ไม้มีแก่นในตัว ไม่โอ้อวด ไม่ยึดติด ท่านสิ้นใจแต่ไม่สิ้นธรรม



ประวัติ พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ
ศิษย์เอก หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ


ผมอีกคนหนึ่งซึ้งนับถือและเก็บรวบรวมวัตถุมงคลของพระครูพระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ

พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ

เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง
ได้ รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนในพื้นที่อำเภอเมืองและใกล้เคียงของ จังหวัดมหาสารคาม สืบ ทอดปฏิปทาและวิทยาคมจาก หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม พระเกจิชื่อดังของภาคอีสาน
ปัจจุบัน พระอาจารย์สุริยันต์ สิริอายุ 30 พรรษา 10 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบูรพาเทพนิมิต อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ และเจ้าอาวาสวัดป่าวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม
แม้ จะมีอายุและพรรษาน้อยแต่ท่านเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน นอกจากเป็นพระเกจิแล้วท่านยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วย ในเวลาเพียง 4 ปีวัดป่าวังน้ำเย็นแห่งนี้ มีถาวรวัตถุที่ใช้ปฏิบัติศาสนกิจมากมาย
สำหรับ วัตถุมงคลของพระอาจารย์สุริยันต์ คณะศิษยานุศิษย์ รวมทั้งญาติโยมผู้เคารพศรัทธา ได้ร่วมใจกันจัดสร้างเพื่อบูชาครูและรำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน คือ เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรกของท่าน จัดสร้างขึ้นเมื่อต้นปี 2552 จำนวน 10,000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดงชนิดเดียว ลักษณะเป็นเหรียญมีห่วง รูปทรงคล้ายพัดยศยกขอบ
ด้านหน้าเหรียญมีรูป เหมือนพระอาจารย์ สุริยันต์ครึ่งองค์ ที่คอคล้องลูกประคำ บริเวณหน้าอกด้านซ้ายมีเลข ๙ และจากบริเวณด้านขวาของเหรียญโค้งลงไปด้านล่างวนขึ้นไปทางด้านขวาเขียนว่า พระอาจารย์สุริยันต์ โฆษปญฺโญ วัดป่าวังน้ำเย็น อ.เมือง จ.มหา สารคามและใต้ตัวอักษรเขียนว่า รุ่น ๑
ด้านหลัง เหรียญเป็นยันต์มหาปรารถนา อ่านว่า โน เย นะ เย โน ชิ นะ ยา ชิ มา นิ ทิ ปะ สิ วะ ภา ทิ ปะ สิเป็นยันต์ที่มีพุทธคุณครอบคลุมทุกด้าน


นอกจากเหรียญแล้วยังมีวัดถุมงคล รุ่นแรก
ของ พระอาจารย์สุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น (วัดพุทธวราราม)

ล็อกเก็ตจัมโบ้ จำนวนการสร้าง 299 องค์ มีสองเนื้อ เนื้อดำ กับเนื้อแดง
ล็อกเก็ตเล็ก จำนวนการสร้าง 999 องค์
รูปหล่อรอยองค์ มีสามเนื้อ เนื้อเงิน สร้างน้อย เนื้อทองแดง และเนื้อตะกรั่ว
พระเนื้อผงของท่าน
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่คำพันธ์ 
พระสังกะจาย
พระสมเด็จ
พระปิดตาจัมโบ้
พระปิดตาเล็ก
ตะกรุด
พระศิวะลี มีสองเนื้อ เนื้อดำ กับเนื้อแดง
พระพุทธชินราชเนื้อผง



เท่าที่รวบรวมมาได้น่ะครับ



สำหรับ พิธีพุทธาภิเษก พระอาจารย์สุริยันต์ได้อธิษฐานจิตนานถึง 1 พรรษา จากนั้นได้นำเหรียญทั้งหมดไปให้หลวงปู่เฉย วัดสระเกษ อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสานอธิษฐานจิตซ้ำอีกครั้ง และยังได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกใหญ่อีกที่สนามโรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งมีพระเกจิชื่อดังของภาคอีสานร่วมพิธีมากมาย อาทิ หลวงปู่คำบุ จ.อุบลราชธานี, หลวงปู่หนูอินทร์ กิตฺติสาโร จ.กาฬ สินธุ์, หลวงปู่เหรียญชัย มหาปัญโญ จ.อุดรธานี, หลวงปู่เฉย ญาณธโร จ.ขอนแก่น เป็นต้น